การน้อมนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงจากโครงการพระราชดำริในหลวงสู่การปฏิบัติจริง สู่ผลงานเชิงประจักษ์ สู่ชีวิตจริง เป็นสาระสำคัญที่สะท้อนให้เห็นถึงความรักที่แท้จริง คือ ทำเพื่อบุคคลที่รักยิ่ง ตามที่พ่อหลวงปรารถนาให้เราเป็น ซึ่งถือว่าเป็นสาระสำคัญมากๆ ในการพัฒนาและนำสู่การดำเนินชีวิตของเราทุกคนครับ
ในวิชาชีพต่างๆ ถ้าเราสามารถน้อมนำหลักปรัชญาพอเพียงมาประยุกต์ใช้มากมาย และโดยเฉพาะอย่างยิ่ง นักออกแบบ โดยแนวคิด พอเพียง พอดีพองาม ที่เพียงพอ ในการออกแบบบ้าน ดังรายละเอียดดังนี้
การออกแบบบ้าน ‘พอเพียง-พอดี-พองาม’ ที่เพียงพอ
1.การออกแบบที่มีการวางแผนรอบคอบ ถี่ถ้วน ด้วยแบบที่ละเอียด วางแผนจากบนกระดาษ ก่อนสร้างจริงจนตกผลึกเสียก่อน โดยประกอบด้วยขั้นตอนต่างๆ ทั้งขั้นตอนการวิเคราะห์ ขั้นตอนการออกแบบที่ตอบสนองพฤติกรรมต่างๆ แบบที่มีการอธิบายรายละเอียดต่างๆ มีเอกสารระบุวัสดุครบถ้วน จะทำให้ไม่บานปลายในภายหลัง การเริ่มต้นจากพิมพ์เขียว วางแผนด้วยแบบที่งดงาม และวิเคราะห์ทุกมุมที่เกี่ยวข้องเป็นจุดเริ่มต้นที่สำคัญมากๆของ ความพอเพียง ที่แท้จริง
2.การออกแบบที่พอเหมาะพอควร เหมาะสมกับงบประมาณ โดยวางแผนตั้งแต่แรก ด้วยขั้นตอนที่ใส่ใจในรายละเอียด มีกาลเทศะในการออกแบบไม่มากไปน้อยไป มีแนวคิดที่สามารถร้อยเรียงด้วยความเป็นเอกภาพได้อย่างกลมกล่อม แนวคิดเอกภาพจะช่วยประคับประคองให้ผลงานออกแบบ มีแนวทางหนึ่งเดียว และจะสามารถลดการสูญเสียสูญเปล่าของงบประมาณได้ด้วย
3.การออกแบบที่คำนึงถึงบริบทโครงการ ทั้งสภาพแวดล้อม วิถีชีวิต พฤติกรรมผู้ใช้งาน ทิศทางลม ทิศทางแดด ลักษณะที่ตั้งของอาคาร การหันทิศทางที่เหมาะสมกับสภาพแวดล้อม การคำนึงถึงสังคม วัฒนธรรม การออกแบบที่ตั้งอยู่บนพื้นฐานความเข้าใจ ที่ตั้งและรอบตัวอย่างรอบคอบนั่นเอง
4.แนวคิดการประหยัดพลังงานที่พอเพียง หมายถึงการออกแบบที่ทำให้อาคาร มีอากาศถ่ายเท ปรอดโปร่ง ลดการสูญเสีย พลังงาน ป้องกันความร้อนด้วยวิธีธรรมชาติ และภูมิปัญญา เหมาะสมกับที่ตั้งที่ดินของโครงการ ไม่ฝืนธรรมชาติ ตรงนี้สามารถศึกษาหาความรู้ก่อนออกแบบจากรูปแบบบ้านเรือนสมัยก่อน ศึกษาหาองค์ความรู้ แล้วพัฒนาสู่การออกแบบอย่างมีกาลเทศะ และต่อยอดอย่างมีนวัตกรรมต่อไป
5.สวยแบบพอดีพองามลงตัวไม่มากไปไม่เยอะไป ความงามที่ยั่งยืนคือความงามที่มีความยั่งยืนสวยนานสวยทนสวยเสมอ มิเสื่อมคลาย ตรงนี้ต้องมาจากการออกแบบที่มีสัดส่วน เหมาะสมกับที่ตั้ง มีผังและหุ่นบุคลิกอาคารที่สอดคล้องกับพื้นที่ ไม่โย่ง หรือเตี้ยไปพอดีพองาม ไม่เติมแต่งเยอะ จนเกินงาม ให้รู้สึกน่าอยู่ อบอุ่น การออกแบบระหว่างสถาปัตยกรรมและมัณฑนศิลป์ ที่เชื่อมโยงกัน ไม่ปะติดตกแต่งมากไป อาจเน้นสัจจะวัสดุที่มีรสนิยม และไม่ทำซ้ำทับซ้อน
6.การออกแบบที่ไม่เสียเศษ ลดขยะให้แก่โลก ด้วยความเข้าใจเรื่องขนาดสัดส่วน ออกแบบโดยมีรากแห่งความรู้เรื่องขนาดจากระบบการผลิตที่เหมาะสม ตามสายการผลิต คำนึงถึงความพอดีของวัสดุ และพยายามเลือกจากวัสดุท้องถิ่น เป็นหลัก เพื่อลดทอนการนำเข้าราคาแพงและการขนส่งที่ยุ่งยาก ในเชิงปฏิบัติคือการออกแบบที่ขนาดจะลงตัวตามระยะที่แท้จริง เช่นลง ฟุต 30 เซนติเมตร วางกระเบื้องในห้องน้ำที่ตัดเศษน้อยที่สุด เพราะมาจากขนาดห้องที่แม่นยำ เป็นการคิดจากภายในสู่ภายนอกนั่นเอง
7.ใช้เทคโนโลยีให้เหมาะสม พอดี พอเหมาะ สอดคล้องกับพฤติกรรม และตัวตน คนใช้งาน ไม่สิ้นเปลืองใช่เหตุ อำนวยความสะดวกที่พอดี สมดุลกับชีวิตประจำวันที่สุด เพื่อความสุขในการใช้ชีวิต
แนวคิดการทำน้อยแต่ได้มาก แนวคิดความพอดีจากขนาดสัดส่วนมนุษย์และผู้อยู่ ทฤษฎีการทำห้องเล็กให้ดูใหญ่ การออกแบบการเชื่อมต่อระหว่างพื้นที่ให้สะดวกสบาย การออกแบบที่ส่งเสริมการใช้งานได้หลากหลาย ตลอดจนการดูแลรักษาอาคาร ให้ยืนยงถาวรไม่เป็นภาระมากนัก เหล่านี้คือทฤษฎีที่เสริมแนวความคิดให้สมบูรณ์มากขึ้นครับ
รับออกแบบบ้าน: การออกแบบบ้าน ‘พอเพียง-พอดี-พองาม’ ที่เพียงพอ อ่านบทความเพิ่มเติมคลิ๊กที่นี่ https://luxuryhomesdesigns.com/