ผู้เขียน หัวข้อ: พ่อแม่ควรรู้! ลูกมีอาการแบบไหน...เข้าข่ายโรคปอดบวมหรือปอดอักเสบ  (อ่าน 102 ครั้ง)

siritidaphon

  • Sr. Member
  • ****
  • กระทู้: 443
    • ดูรายละเอียด
พ่อแม่ควรรู้! ลูกมีอาการแบบไหน...เข้าข่ายโรคปอดบวมหรือปอดอักเสบ

โรคปอดบวม มีชื่อเรียกทางการแพทย์ว่า โรคปอดอักเสบจากการติดเชื้อ หรือโรคนิวโมเนีย (pneumonia) เป็นโรคติดเชื้อที่ปอด ส่วนใหญ่เกิดจากเชื้อไวรัสและเชื้อแบคทีเรีย นอกจากนี้ยังเกิดจากการติดเชื้อโรคชนิดอื่นๆ ได้ เช่น เชื้อไมโคพลาสมา (mycloplasma) และเชื้อรา ซึ่งทำให้เกิดอาการไอ หายใจลำบาก และหอบเหนื่อย
 
โรคปอดบวมในเด็ก…ติดต่อผ่านทางไหนได้บ้าง?

โรคปอดบวมไม่ว่าจะในเด็กหรือในผู้ใหญ่สามารถติดต่อผ่านการหายใจ ซึ่งนำเชื้อโรคเข้าปอดโดยตรงจากการสูดหายใจเอาอากาศที่มีเชื้อปนอยู่ในละอองฝอยขนาดเล็ก โดยเฉพาะบริเวณที่มีคนอยู่รวมกันจำนวนมาก เช่น ห้องเรียน โรงภาพยนตร์ สถานรับเลี้ยงเด็ก ศูนย์ผู้อพยพ โรงแรม หอพัก กองทหาร หรือในเรือนจำ

ทั้งนี้ ผู้ป่วยโรคปอดอักเสบติดเชื้อสามารถแพร่เชื้อได้ สำหรับเด็กที่มีเชื้ออยู่ในร่างกายแต่ไม่มีอาการ ก็สามารถเป็นพาหะแพร่เชื้อได้ จึงต้องระวังเป็นพิเศษโดยเฉพาะในสถานรับเลี้ยงเด็กก่อนวัยเรียน

 
อาการโรคปอดบวมที่ควรสังเกต

อาการปอดบวมอาจสังเกตได้จากการมีไข้ ไอ หายใจเร็ว หอบเหนื่อย หายใจลำบาก หายใจแรงจนรูจมูกบาน หรือหายใจแรงมากจนหน้าอกบุ๋ม และถ้าเกิดหลอดลมภายในปอดตีบก็อาจได้เกิดเสียงหายใจวี๊ด (wheeze) รายที่มีอาการรุนแรงมากอาจทำให้ภาวะหัวใจล้มเหลว และถ้าหายใจลำบากอยู่นาน จะทำให้ขาดออกซิเจน ผู้ป่วยอาจซึมลง หรือหมดสติในที่สุด

 
การรักษาโรคปอดบวมโดยทั่วไปจะรักษาด้วยวิธีใด?

    แนะนำให้ดื่มน้ำมากๆ ในรายที่หอบมากจนรับประทานอาหารไม่ได้ ควรให้สารน้ำทางหลอดเลือดดำ และงดรับประทานอาหารทางปากเพื่อป้องกันการสำลัก
    ให้ออกซิเจน เพื่อให้ร่างกายได้รับปริมาณออกซิเจนที่เพียงพอ
    ให้ยาขยายหลอดลมสำหรับรายที่หลอดลมตีบจนเกิดเสียงหายใจวี๊ด
    พิจารณาให้ยาขับเสมหะ หรือยาละลายเสมหะในกรณีที่ให้สารน้ำเต็มที่แล้วแต่เสมหะยังเหนียวอยู่  ไม่ควรให้ยาที่ออกฤทธิ์กดการไอ โดยเฉพาะในเด็กที่อายุน้อยกว่า 5 ปี เพราะยาที่กดการไอจะทำให้มีเสมหะคั่งค้างอยู่ภายในถุงลมปอดมากขึ้น ควรให้ผู้ป่วยไออย่างมีประสิทธิภาพเพื่อให้เสมหะออกมามากที่สุด

 
การรักษาอาการปอดบวมตามชนิดของเชื้อโรค

    ถ้าเกิดจากการติดเชื้อไวรัส โดยทั่วไปไม่มียารักษาที่เฉพาะ การรักษาส่วนใหญ่จึงเป็นการรักษาตามอาการ รวมถึงการบำบัดรักษาทางระบบหายใจที่เหมาะสม เช่น การเคาะปอด การดูดเสมหะ ในกรณีที่ตรวจพบว่าเกิดจากเชื้อไวรัสที่มียารักษาเฉพาะ เช่น เชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่ แพทย์อาจพิจารณาให้ยาต้านไวรัสไข้หวัดใหญ่ร่วมด้วย

    ถ้าเกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรีย ควรรักษาด้วยยาปฏิชีวนะให้เร็วที่สุด และเลือกยาปฏิชีวนะที่เหมาะกับเชื้อแบคทีเรียแต่ละชนิด โดยใช้ข้อมูลทางระบาดวิทยาคลินิกในการตัดสินใจเลือกยาปฏิชีวนะนั้น

 
การป้องกันลูกน้อยให้ห่างไกลจากโรคปอดบวม

    หลีกเลี่ยงสถานที่ที่มีคนมาก เช่น ศูนย์การค้า โรงภาพยนตร์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งไม่ควรนำเด็กเล็กไปในสถานที่ดังกล่าว
    หลีกเลี่ยงควันบุหรี่ ควันไฟ ควันจากท่อไอเสียรถยนต์ หรืออากาศที่หนาวเย็น
    ไม่ควรให้เด็กที่อายุน้อยกว่า 1 ปี และผู้ที่สุขภาพไม่แข็งแรงไปอยู่ใกล้ชิดผู้ป่วย
    แนะนำให้ฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่
    แนะนำให้ฉีดวัคซีนป้องกันโรคไอพีดี (IPD) หรือ Invasive Pneumococcal Disease ซึ่งเป็นโรครุนแรงที่เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรีย “สเตร็พโตค็อกคัส นิวโมเนียอี” (Streptococcus pneumonia) ที่ทำให้เกิดปอดอักเสบได้ วัคซีนชนิดนี้จะป้องกันการติดเชื้อและช่วยลดความรุนแรงของโรคได้