1
ฟรีแลนซ์โพสต์ฟรี / ศูนย์ข้อมูลโควิด-19: ข้อควรปฏิบัติก่อนและหลังการฉีดวัคซีนโควิด-19
« เมื่อ: วันที่ 28 มกราคม 2025, 23:10:22 น. »
ศูนย์ข้อมูลโควิด-19: ข้อควรปฏิบัติก่อนและหลังการฉีดวัคซีนโควิด-19
อย่างที่ทราบกันดีว่า การฉีดวัคซีนโควิด-19 จะช่วยป้องกันการติดเชื้อโควิด-19 ลดความรุนแรงของอาการป่วยหลังการติดเชื้อ ลดอัตราการเสียชีวิตจากโรค และอาจช่วยป้องกันการแพร่กระจายเชื้อโควิด-19 จากตนเองไปสู่ผู้อื่นได้อีกด้วย เราทุกคนจึงควรเข้ารับการฉีดวัคซีนโควิด-19 เมื่อมีโอกาส
เนื่องจากวัคซีนโควิด-19พัฒนาอย่างรวดเร็ว โดยประสิทธิภาพของวัคซีนและการตอบสนองของแต่ละคนอาจแตกต่างกันไป จึงควรเตรียมพร้อมทั้งก่อนและหลังการฉีดวัคซีน เพื่อให้ได้รับประโยชน์จากการฉีควัคซีนมากที่สุด และป้องกันหรือลดอาการข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้น
เตรียมตัวอย่างไรก่อนฉีดวัคซีนโควิด-19
หลังยืนยันการได้รับสิทธิรับวัคซีนโควิด-19 แล้ว ควรเตรียมตัวก่อนรับวัคซีนตามคำแนะนำต่อไปนี้
เตรียมร่างกายด้วยการพักผ่อนอย่างเพียงพอ 2 วันก่อนรับวัคซีน และควรงดออกกำลังกายหนักหรือยกน้ำหนัก
หากฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่มาก่อนหน้านี้ ควรเว้นระยะห่างกับการฉีดวัคซีนโควิด-19 อย่างน้อย 2–4 สัปดาห์
สังเกตว่าตนเองไม่มีไข้ในวันที่เข้ารับการฉีด หากมีไข้หรือมีอาการเจ็บป่วยอื่น ๆ ควรเลื่อนนัดการฉีดวัคซีนออกไปก่อน
ดื่มน้ำในปริมาณอย่างน้อย 500–1,000 มิลลิลิตรในวันที่ฉีดวัคซีนควรหลีกเลี่ยงการดื่มชา กาแฟ เครื่องดื่มที่มีคาเฟอีนอื่น ๆ หรือเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ ผู้ที่ดื่มเป็นประจำสามารถดื่มได้ตามปกติ
ไม่ควรกินยาแก้แพ้หรือยาแก้ปวดเพื่อป้องกันผลข้างเคียงก่อนการฉีดวัคซีน อย่างยาพาราเซตามอล (Paracetamol) ยาไอบูโพรเฟน (Ibuprofen) และยาแอสไพริน (Aspirin) เพราะอาจกระทบต่อประสิทธิภาพการทำงานของวัคซีนโควิด-19
ในวันที่รับการฉีดวัคซีนให้เตรียมบัตรประชาชน พร้อมทั้งสวมหน้ากากอนามัย พกแอลกอฮอล์เจลและเว้นระยะห่างตลอดเวลา
ก่อนฉีดวัคซีนควรแจ้งให้แพทย์ทราบถึงโรคประจำตัว ประวัติการแพ้ยาหรือวัคซีน การตั้งครรภ์และข้อมูลอื่น ๆ ด้านสุขภาพร่างกาย
เลือกฉีดแขนข้างที่ไม่ถนัด และหลีกเลี่ยงการใช้หรือออกแรงกับแขนข้างดังกล่าวเป็นเวลา 2 วัน
ผู้ที่มีโรคประจำตัวและต้องกินเป็นประจำไม่ควรงดหรือชะลอการกินยาในช่วงที่ฉีดวัคซีนโควิด-19 ยกเว้นแพทย์แนะนำให้หยุดใช้ยา หากเป็นผู้ป่วยที่ต้องกินยาละลายลิ่มเลือดให้กินต่อตามปกติ แต่เมื่อฉีดยาแล้วให้กดนิ่งตรงตำแหน่งที่ฉีดต่อนาน 1 นาที
สิ่งที่ควรปฏิบัติหลังฉีดวัคซีน
หลังได้รับวัคซีนโควิด-19 ควรพักผ่อนให้เพียงพอ ดื่มน้ำให้เพียงพอ และสังเกตอาการของตนเองอยู่เสมอเพราะวัคซีนชนิดนี้อาจก่อให้เกิดผลข้างเคียงทั่วไป เช่น มีไข้อ่อน ๆ ปวดหัว หนาวสั่น ปวดกล้ามเนื้อ ท้องเสีย ปวดหรือบวมแดงในบริเวณที่ฉีด เป็นต้น ซึ่งอาการดังกล่าวจะหายไปภายในเวลา 2–3 วัน แต่หากรู้สึกปวดจนทนไม่ไหว สามารถกินยาพาราเซตามอลปริมาณ 500 มิลลิกรัมครั้งละ 1 เม็ด และห้ามกินยาไอบูโพรเฟน (Ibuprofen) ยาเซเลโคซิบ (Celecoxib) และยาอีโตริคอกซิบ (Etoricoxib) โดยเด็ดขาด
แม้ว่าอาการแพ้หรือการเกิดผลข้างเคียงรุนแรงจากการฉีดวัคซีนจะเป็นอาการที่พบได้น้อย แต่ก็อาจก่อให้เกิดอาการหายใจลำบาก เกิดผื่นลมพิษ ไข้สูง เป็นลม อ่อนแรง เจ็บหน้าอก มึนงงหรือมีผลข้างเคียงต่าง ๆ ติดต่อกันนานกว่า 2–3 วัน ควรพบแพทย์หรือติดต่อสายด่วนที่เบอร์ 1669 หรือ 1422
แม้จะได้รับวัคซีนครบถ้วนแล้ว เราทุกคนก็ยังจำเป็นจะต้องป้องกันการติดเชื้อหรือการแพร่กระจายเชื้อโควิด-19 อย่างต่อเนื่อง โดยควรสวมหน้ากากอนามัย ล้างมืออย่างสม่ำเสมอด้วยสบู่และน้ำสะอาดหรือเจลแอลกอฮอล์ ทำความสะอาดพื้นผิวที่ถูกสัมผัสบ่อย ๆ หลีกเลี่ยงการสัมผัสใบหน้าและการอยู่ร่วมกันเป็นกลุ่มโดยไม่จำเป็น หลีกเลี่ยงการกินอาหารในที่สาธารณะ และหลีกเลี่ยงการพบปะผู้คนเมื่อมีอาการป่วย
อย่างที่ทราบกันดีว่า การฉีดวัคซีนโควิด-19 จะช่วยป้องกันการติดเชื้อโควิด-19 ลดความรุนแรงของอาการป่วยหลังการติดเชื้อ ลดอัตราการเสียชีวิตจากโรค และอาจช่วยป้องกันการแพร่กระจายเชื้อโควิด-19 จากตนเองไปสู่ผู้อื่นได้อีกด้วย เราทุกคนจึงควรเข้ารับการฉีดวัคซีนโควิด-19 เมื่อมีโอกาส
เนื่องจากวัคซีนโควิด-19พัฒนาอย่างรวดเร็ว โดยประสิทธิภาพของวัคซีนและการตอบสนองของแต่ละคนอาจแตกต่างกันไป จึงควรเตรียมพร้อมทั้งก่อนและหลังการฉีดวัคซีน เพื่อให้ได้รับประโยชน์จากการฉีควัคซีนมากที่สุด และป้องกันหรือลดอาการข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้น
เตรียมตัวอย่างไรก่อนฉีดวัคซีนโควิด-19
หลังยืนยันการได้รับสิทธิรับวัคซีนโควิด-19 แล้ว ควรเตรียมตัวก่อนรับวัคซีนตามคำแนะนำต่อไปนี้
เตรียมร่างกายด้วยการพักผ่อนอย่างเพียงพอ 2 วันก่อนรับวัคซีน และควรงดออกกำลังกายหนักหรือยกน้ำหนัก
หากฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่มาก่อนหน้านี้ ควรเว้นระยะห่างกับการฉีดวัคซีนโควิด-19 อย่างน้อย 2–4 สัปดาห์
สังเกตว่าตนเองไม่มีไข้ในวันที่เข้ารับการฉีด หากมีไข้หรือมีอาการเจ็บป่วยอื่น ๆ ควรเลื่อนนัดการฉีดวัคซีนออกไปก่อน
ดื่มน้ำในปริมาณอย่างน้อย 500–1,000 มิลลิลิตรในวันที่ฉีดวัคซีนควรหลีกเลี่ยงการดื่มชา กาแฟ เครื่องดื่มที่มีคาเฟอีนอื่น ๆ หรือเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ ผู้ที่ดื่มเป็นประจำสามารถดื่มได้ตามปกติ
ไม่ควรกินยาแก้แพ้หรือยาแก้ปวดเพื่อป้องกันผลข้างเคียงก่อนการฉีดวัคซีน อย่างยาพาราเซตามอล (Paracetamol) ยาไอบูโพรเฟน (Ibuprofen) และยาแอสไพริน (Aspirin) เพราะอาจกระทบต่อประสิทธิภาพการทำงานของวัคซีนโควิด-19
ในวันที่รับการฉีดวัคซีนให้เตรียมบัตรประชาชน พร้อมทั้งสวมหน้ากากอนามัย พกแอลกอฮอล์เจลและเว้นระยะห่างตลอดเวลา
ก่อนฉีดวัคซีนควรแจ้งให้แพทย์ทราบถึงโรคประจำตัว ประวัติการแพ้ยาหรือวัคซีน การตั้งครรภ์และข้อมูลอื่น ๆ ด้านสุขภาพร่างกาย
เลือกฉีดแขนข้างที่ไม่ถนัด และหลีกเลี่ยงการใช้หรือออกแรงกับแขนข้างดังกล่าวเป็นเวลา 2 วัน
ผู้ที่มีโรคประจำตัวและต้องกินเป็นประจำไม่ควรงดหรือชะลอการกินยาในช่วงที่ฉีดวัคซีนโควิด-19 ยกเว้นแพทย์แนะนำให้หยุดใช้ยา หากเป็นผู้ป่วยที่ต้องกินยาละลายลิ่มเลือดให้กินต่อตามปกติ แต่เมื่อฉีดยาแล้วให้กดนิ่งตรงตำแหน่งที่ฉีดต่อนาน 1 นาที
สิ่งที่ควรปฏิบัติหลังฉีดวัคซีน
หลังได้รับวัคซีนโควิด-19 ควรพักผ่อนให้เพียงพอ ดื่มน้ำให้เพียงพอ และสังเกตอาการของตนเองอยู่เสมอเพราะวัคซีนชนิดนี้อาจก่อให้เกิดผลข้างเคียงทั่วไป เช่น มีไข้อ่อน ๆ ปวดหัว หนาวสั่น ปวดกล้ามเนื้อ ท้องเสีย ปวดหรือบวมแดงในบริเวณที่ฉีด เป็นต้น ซึ่งอาการดังกล่าวจะหายไปภายในเวลา 2–3 วัน แต่หากรู้สึกปวดจนทนไม่ไหว สามารถกินยาพาราเซตามอลปริมาณ 500 มิลลิกรัมครั้งละ 1 เม็ด และห้ามกินยาไอบูโพรเฟน (Ibuprofen) ยาเซเลโคซิบ (Celecoxib) และยาอีโตริคอกซิบ (Etoricoxib) โดยเด็ดขาด
แม้ว่าอาการแพ้หรือการเกิดผลข้างเคียงรุนแรงจากการฉีดวัคซีนจะเป็นอาการที่พบได้น้อย แต่ก็อาจก่อให้เกิดอาการหายใจลำบาก เกิดผื่นลมพิษ ไข้สูง เป็นลม อ่อนแรง เจ็บหน้าอก มึนงงหรือมีผลข้างเคียงต่าง ๆ ติดต่อกันนานกว่า 2–3 วัน ควรพบแพทย์หรือติดต่อสายด่วนที่เบอร์ 1669 หรือ 1422
แม้จะได้รับวัคซีนครบถ้วนแล้ว เราทุกคนก็ยังจำเป็นจะต้องป้องกันการติดเชื้อหรือการแพร่กระจายเชื้อโควิด-19 อย่างต่อเนื่อง โดยควรสวมหน้ากากอนามัย ล้างมืออย่างสม่ำเสมอด้วยสบู่และน้ำสะอาดหรือเจลแอลกอฮอล์ ทำความสะอาดพื้นผิวที่ถูกสัมผัสบ่อย ๆ หลีกเลี่ยงการสัมผัสใบหน้าและการอยู่ร่วมกันเป็นกลุ่มโดยไม่จำเป็น หลีกเลี่ยงการกินอาหารในที่สาธารณะ และหลีกเลี่ยงการพบปะผู้คนเมื่อมีอาการป่วย