ผู้เขียน หัวข้อ: ซ่อมบำรุงอาคาร: วิธีเลือกแอร์ให้เหมาะกับพื้นที่ใช้สอย  (อ่าน 252 ครั้ง)

siritidaphon

  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 515
    • ดูรายละเอียด
ประเทศที่มีฤดูร้อนเกือบทั้งปีแบบบ้านเรา ทุกคนจึงเลือกที่จะใช้เครื่องปรับอากาศหรือแอร์เป็นสิ่งอำนวยความสะดวกในการปรับอุณหภูมิภายในบ้าน โดยระบบที่นิยมติดกันมากที่สุดคือแบบแยกส่วน (Split Type)  มีลักษณะการทำงานแบบแยกส่วนที่เป่าลมเย็นออกจากตัวเครื่องระบายความร้อน บางบ้านที่กำลังจะติดเครื่องปรับอากาศแต่กลัวเลือกไม่สอดคล้องกับการใช้งาน สามารถนำข้อแนะนำต่อไปนี้ไปเป็นตัวช่วยในการตัดสินใจเลือกได้นะ


1. เลือกขนาดบีทียูให้เหมาะสมกับขนาดห้อง 

ซึ่งนอกจากพื้นที่ของห้องที่จะนำมาพิจารณาในส่วนนี้แล้ว  ทิศทางและช่วงเวลาของแสงแดดที่ส่องโดนห้องเรานั้นก็มีส่วนสำคัญในการเลือกขนาดบีทียู  เพราะหากเราเลือกบีทียูน้อยไป  จะทำให้แอร์ทำงานตลอดเวลาเป็นการสิ้นเปลืองพลังงานไฟฟ้า  และทำให้อายุการใช้งานสั้นกว่าปกติ  รวมถึงทำให้อุณหภูมิภายในห้องไม่เย็นเท่าที่ควร  แม้แต่การเลือกบีทียูที่มากกว่าขนาดห้องก็ไม่ได้ส่งผลดีต่อผู้ใช้งาน  เนื่องจากระบบจะเปิดปิดเองตลอดเวลา  ส่งผลให้ค่าไฟแพงขึ้น  และระบบไม่สามารถลดความชื้นในอากาศได้ส่งผลเกิดมลพิษทางอากาศภายในห้อง


2. เครื่องปรับอากาศระบบอินเวอร์เตอร์ดีอย่างไร 

การทำงานของคอมเพรสเซอร์ ควบคุมด้วยเทอร์โมสตัทที่จะสั่งให้คอมเพรสเซอร์ตัดหรือต่อ การทำงานในลักษณะนี้ ทำให้ช่วงการควบคุมอุณหภูมิอยู่ในช่วงประมาณ 2 องศา เมื่อไหร่ก็ตามอุณหภูมิภายในห้องสูงกว่าที่ตั้งไว้เกิน 2 อาศา คอมเพรสเซอร์จะทำงานเกิดการกระชากของไฟ ดังนั้น จึงเกิดเทคโนโลยีใหม่ที่เรียกว่าอินเวอร์เตอร์ ที่ควบคุมการทำงานของคอมเพรสเซอร์โดยการปรับรอบของคอมเพรสเซอร์ ทำให้การควบคุมอุณหภูมิสม่ำเสมอขึ้นและไม่เกิดไฟกระชาก ทำให้ประหยัดไฟและความเย็นภายในห้องคงที่


3. การเตรียมพื้นที่สำหรับติดเครื่องปรับอากาศ 

ซึ่งเมื่อติดตั้งแล้วอุณหภูมิในห้องควรเย็นสบาย สามารถควบคุมความชื้นได้  สำหรับในห้องนอนองศาการตกของลมที่ออกมาจากเครื่องปรับอากาศไม่ควรตรงกับบริเวณศีรษะหรือทิศทางของลมเข้าสู่ระบบการหายใจโดยตรง  ซึ่งส่งผลเสียต่อสุขภาพในระยะยาว

หากบ้านไหนมีความสูง 2-3 ชั้น อย่าลืมเรื่องการบำรุงษาเครื่องระบายความร้อนที่ตั้งอยู่นอกอาคาร ที่จะต้องมีทางออกไปสู่เครื่องได้ต้องมีที่ยืนที่ปลอดภัยเพียงพอสำหรับการล้างเครื่อง ซ่อมเครื่อง หรือเติมน้ำยาสำหรับผู้ที่ออกไปซ่อมบำรุง

เมื่อมีข้อมูลประกอบการติดสินใจในการเลือกซื้อแอร์แล้ว  ก็เลือกซื้อกันได้ตามท้องตลาดโดยแต่ละยี่ห้อก็จะมีเทคโนโลยีต่างๆ และการบริการหลังการขายเป็นโปรโมชั่นที่จะช่วยให้ลูกค้าตัดสินใจซื้อได้ง่ายขึ้น  เมื่อเลือกซื้อและติดตั้งเพื่อใช้งานแล้ว  อย่าลืมศึกษาการบำรุงรักษาด้วยตัวเองเนื่องจากจะช่วยให้เครื่องปรับอากาศทำงานได้เต็มประสิทธิภาพแล้วยังช่วยประหยัดค่าไฟได้อีกทางหนึ่งด้วย


3 เคล็ดลับแก้อาการแอร์ลมออก แต่ไม่ทำความเย็น

อากาศเมืองไทยตอนนี้ร้อนอบอ้าวมากๆ ร้อนตั้งแต่เช้าจนถึงกลางคืน ร้อนแบบไม่เกรงใจใคร เครื่องปรับอากาศจึงกลายเป็นเครื่องใช้ไฟฟ้ายอดนิยมที่ต้องมีติดทุกบ้าน ในความสะดวกสบายก็ต้องมีปัญหาตามมาหลากหลาย ในส่วนของเครื่องปรับอากาศปัญหาที่โหดร้ายที่ต้องเจอคือ “ลมออก” เป็นอาการบ่งบอกว่าแอร์มีปัญหา และเป็นปัญหาค่อนข้างแก้ไขได้ยากจึงจำเป็นต้องเรียกช่างเข้ามาดูอาการ วันนี้จึงได้รวบรวม 3 เคล็ดลับแก้อาการลมออกเบื้องต้นพร้อมวิธีป้องกันมาฝาก


1. นำฟิลเตอร์ออกมาทำความสะอาด

สาเหตุที่เครื่องปรับอากาศไม่ทำความเย็นและมีแต่ลมออกมานั้นเกิดจากระบบระบายอากาศในตัวเครื่องตัน ให้ลองเช็คที่แผงฟิลเตอร์ด้านหน้าสุด หากมีฝุ่นเกาะจำนวนมากอากาศทำความเย็นภายในก็ไม่สามารถออกมาได้เสี่ยงต่อท่อน้ำไหลย้อนกลับทำให้เครื่องปรับอากาศมีโอกาสชำรุดไวมากขึ้น ดังนั้นควรถอดฟิลเตอร์ออกมาล้างด้วยตนเองทุก ๆ 2 อาทิตย์


2. น้ำยาหมด

เครื่องปรับอากาศนั้นจำเป็นต้องเติมน้ำยา ซึ่งเป็นน้ำยา R12 หรือเรียกภาษาบ้านสุดง่ายว่า “น้ำยาแอร์”เป็นน้ำยาสีฟ้าใสบรรจุมาในถังอัดลมสีเขียวอ่อนมีขนาดเดียวใช้สำหรับเติมท่อเครื่องปรับอากาเพื่อให้ตัวน้ำยาไหลเวียนไปยังระบบทำความเย็นด้านใน หากเจอปัญหาลมออกสามารถเรียกช่างมาเติมน้ำยาได้ทันที ค่าบริการเบื้องต้นจะอยู่ที่ประมาณ 200 บาท เท่านั้นเอง เติมแล้วเย็นนานตลอดปีเลยล่ะ


3.  ล้างทำความสะอาดส่วนนอก

อีกหนึ่งสาเหตุลมออกคือเครื่องปรับอากาศไม่ได้ทำการล้างมาเป็นเวลานาน โดยปกติแล้วจะล้างทุก 4 เดือนสำหรับเครื่องปรับอากาศติดตั้งที่บ้าน หากไม่ยอมล้าง หรือไม่ได้ทำความสะอาดจะทำให้ระบบทำความเย็นเสื่อมสภาพลงและเกิดอาการท่อตันซึ่งเป็นที่มาของอาการเสียที่จะตามมาอีกหลายประการนั่นเอง ดังนั้นจึงจำเป็นต้องถอดชิ้นส่วนเครื่องปรับอากาศออกมาทำความสะอาดทั้งบริเวณฝาครอบด้านหน้า แผงฟิลเตอร์ และท่อระบายน้ำต้องทำการเป่าเสียหน่อยปกติสามารถทำส่วนนี้ได้ด้วยตนเอง เพียงเท่านี้ก็สามารถยืดอายุการใช้งานได้แล้ว และในระยะเวลาภายใน1 ปีขอแนะนำเรียกช่างเข้ามาทำการล้างครั้งใหญ่ 1 ครั้งเพื่อให้ทางช่างได้เช็คระบบไฟไปในตัวหากเราไม่สามารถทำได้
 
นี่ก็เป็นเคล็ดลับดูแลแก้อาการแอร์ลมออกแบบง่ายที่สามารถทำได้ด้วยตนเอง อีกทั้งยังยืดอายุการใช้งานได้นานกว่าเดิม ต้องยอมรับว่าเมื่อเทคโนโลยีก้าวหน้าหลายคนก็เสพติดความขี้เกียจจึงละเลยการทำความสะอาด ดูแลเครื่องใช้ไฟฟ้าภายในบ้าน แต่เชื่อหรือไม่ว่าหากเรารู้จักถนอมการใช้งานให้เป็น สิ่งนั้นก็จะอยู่กับเราไปอีกนานแบบไม่ต้องซ่อมบ่อยเลยล่ะ




ซ่อมบำรุงอาคาร: วิธีเลือกแอร์ให้เหมาะกับพื้นที่ใช้สอย อ่านบทความเพิ่มเติมคลิ๊กที่นี่ https://snss.co.th/dt_post/technical-services/