ผู้เขียน หัวข้อ: การรักษาโรคความดันสูง ความดันโลหิตสูง (Hypertension)  (อ่าน 268 ครั้ง)

siritidaphon

  • Sr. Member
  • ****
  • กระทู้: 443
    • ดูรายละเอียด
การรักษาโรคความดันสูง ความดันโลหิตสูง (Hypertension)
« เมื่อ: วันที่ 14 ตุลาคม 2023, 09:08:02 น. »
โดยทั่วไปแพทย์จะแนะนำให้ผู้ป่วยปรับพฤติกรรมก่อนและค่อยให้ใช้ยารักษาควบคู่ไปด้วย โดยการรักษาจะพิจารณาตามต้นเหตุที่ทำให้ความดันโลหิตสูงขึ้น และค่าความดันโลหิตที่เหมาะสมในแต่ละบุคคลจะขึ้นอยู่กับสุขภาพและอายุของผู้ป่วย
การปรับพฤติกรรมการใช้ชีวิต

การเปลี่ยนแปลงรูปแบบการใช้ชีวิตมีส่วนสำคัญอย่างมากต่อการรักษาโรคความดันโลหิต ผู้ป่วยอาจจะค่อย ๆ ปรับทีละน้อย เมื่อเห็นความเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้นจึงค่อยปรับให้มากขึ้นจนเป็นปกติ


ปรับพฤติกรรมการรับประทานอาหาร

ผู้ป่วยควรปรับพฤติกรรมรับประทานอาหารwww.pobpad.com/อาหารลดความดันโลหิต-กินที่เคยชินบางอย่าง เพื่อช่วยให้เกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมในระยะยาว และช่วยให้ควบคุมระดับความดันโลหิตให้อยู่ในเกณฑ์ปกติตามคำแนะนำต่อไปนี้

1.    จำกัดปริมาณโซเดียมในอาหาร ในแต่ละวันไม่ควรบริโภคโซเดียมมากกว่า 2,000 มิลลิกรัม หรือเทียบเท่าเกลือ 1 ช้อนชา ซึ่งเฉลี่ยแล้วไม่ควรได้รับโซเดียมเกิน 600 มิลลิกรัมต่อมื้ออาหาร หากเตรียมอาหารเองควรลดปริมาณเกลือหรือโซเดียมให้มีปริมาณน้อยลง หรือดูฉลากอาหารและเครื่องปรุงรสก่อนรับประทาน และหลีกเลี่ยงอาหารแปรรูปที่มักมีโซเดียมสูง

2.    เลือกประเภทอาหารที่ดีต่อสุขภาพหัวใจ ควรเลือกรับประทานอาหารที่เน้นธัญพืช ผักและผลไม้ พืชตระกูลถั่ว ผลิตภัณฑ์นมไขมันต่ำ ปลา ควรหลีกเลี่ยงเนื้อแดง น้ำมันปาล์ม อาหารและเครื่องดื่มที่อุดมไปด้วยน้ำตาล

3.    รับประทานอาหารต้านความดันสูงหรือ Dash Diet ซึ่งเป็นอาหารที่ดีต่อสุขภาพและหัวใจ เพื่อช่วยควบคุมระดับความดันโลหิตไม่ให้เพิ่มสูงขึ้น เพราะส่วนใหญ่จะเน้นผัก ผลไม้ และธัญพืช มีไขมันและเกลือต่ำ ผู้ป่วยหรือคนปกติก็สามารถรับประทานได้


ออกกำลังกายเป็นประจำ

การออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอจะช่วยปรับระดับความดันโลหิตไม่ให้สูงมากเกินไป และลดความเสี่ยงของปัญหาสุขภาพอื่น ๆ ที่อาจเกิดขึ้นได้ โดยให้ปรึกษาแพทย์ถึงประเภทการออกกำลังกายที่เหมาะสมและปลอดภัย และเลือกออกกำลังกายที่ออกแรงในระดับปานกลาง วันละ 30 นาที เช่น ว่ายน้ำและเดินเร็ว เพื่อเพิ่มสมรรถภาพของหัวใจให้มีการใช้งานออกซิเจนมากกว่าปกติ

ผู้ป่วยควรวัดความดันก่อนออกกำลังกาย หากความดันสูงกว่า 160/110 มิลลิเมตรปรอท ควรได้รับยาควบคุมความดันโลหิตก่อนออกกำลังกาย และผู้ที่มีความดันโลหิตขณะพักสูงกว่า 180/110 มิลลิเมตรปรอท ให้หยุดออกกำลังกายแล้วรีบไปพบแพทย์

หากเกิดอาการผิดปกติขณะออกกำลังกาย เช่น เหนื่อยหอบจนไม่สามารถพูดได้ หายใจไม่ออก แน่นหน้าอก ชีพจรเต้นผิดปก เวียนศีรษะ หน้ามืด เหงื่อออกมาก ตัวเย็นผิดปกติ แขนขาไม่มีแรง ควรหยุดออกกำลังกายทันที


ควบคุมน้ำหนักตัวให้คงที่

ผู้ที่มีน้ำหนักตัวมากหรือเป็นโรคอ้วนควรลดน้ำหนักให้อยู่ในระดับปกติ เพราะจะช่วยให้การควบคุมความดันโลหิตทำได้ดีขึ้น และลดความเสี่ยงของปัญหาสุขภาพอื่นได้ 3–5% โดยปกติแล้วจะประเมินภาวะอ้วนและผอมในผู้ใหญ่ได้จากค่า BMI โดยเอาน้ำหนักตัว (กิโลกรัม) หารด้วยส่วนสูง (เมตร) ยกกำลังสอง ซึ่งค่าที่ได้ควรไม่เกิน 25

    ค่าที่ได้ต่ำกว่า 18.5 หรืออยู่ระหว่าง 18.5-24.9 แสดงว่ามีน้ำหนักตัวปกติ
    ค่าที่ได้อยู่ระหว่าง 25-29.9 แสดงว่ามีน้ำหนักตัวมากกว่าปกติ
    ค่าที่ได้มากกว่า 30 แสดงว่าเป็นโรคอ้วน

จำกัดการดื่มแอลกอฮอล์
การดื่มแอลกอฮอล์เป็นอีกปัจจัยที่ส่งผลต่อการเพิ่มสูงขึ้นของความดันโลหิตและไตรกลีเซอไรด์ ซึ่งเป็นไขมันในเลือดประเภทหนึ่ง และยังเป็นการเพิ่มแคลอรี่ที่เป็นสาเหตุของโรคอ้วน ดังนั้นควรดื่มในปริมาณที่เหมาะสมต่อวัน

ผู้ชายไม่ควรดื่มเกิน 2 หน่วยมาตรฐานต่อวัน และผู้หญิงไม่ควรดื่มเกิน 1 หน่วยมาตรฐานต่อวัน โดยค่าประมาณของ 1 หน่วยมาตรฐานเทียบเท่าได้กับเบียร์ 1 แก้วหรือ 285 มิลลิลิตร ไวน์ 1 แก้วเล็กหรือ 100 มิลลิลิตร และเหล้า 1 แก้วหรือ 30 มิลลิลิตร

พักผ่อนให้เพียงพอและจัดการกับความเครียดอย่างเหมาะสม
ระดับความดันโลหิตมักจะลดลงเมื่อนอนหลับ หากนอนหลับไม่เพียงพออาจทำให้ระดับความดันโลหิตสูงขึ้นได้ จึงควรกำหนดเวลาเข้านอนและตื่นนอนให้ตรงกันทุกวัน หลีกเลี่ยงการงีบหลับระหว่างวัน จัดห้องนอนให้เหมาะสมกับการนอนหลับ และทำกิจกรรมผ่อนคลายก่อนนอน เช่น อาบน้ำอุ่น และฟังเพลงสบาย ๆ จะช่วยให้นอนหลับง่ายขึ้น

นอกจากนี้ ควรจัดการกับความเครียดอย่างเหมาะสมด้วยการหากิจกรรมที่ผ่อนคลาย หรือระบายออกทางด้านอารมณ์และร่างกายในทางสร้างสรรค์ เช่น ออกกำลังกาย ฟังเพลง เล่นโยคะ นั่งสมาธิ หรือกิจกรรมที่ทำให้เกิดความสงบ ก็จะช่วยลดระดับความดันโลหิตได้
การใช้ยา

นอกเหนือจากการรับประทานอาหารและการออกกำลังกาย แพทย์อาจใช้ยารักษาควบคู่ไปด้วย เพื่อช่วยลดระดับความดันโลหิตให้ลดลง ซึ่งยาที่ใช้รักษาโรคความดันสูงมีหลักการทำงานและออกฤทธิ์ที่แตกต่างกัน อาจเป็นการไปหยุดหรือลดกระบวนการทำงานของร่างกายในบางส่วน โดยจะใช้รักษาตามสาเหตุที่ทำให้เกิดความดันโลหิตสูง เช่น

1.    ยาขับปัสสาวะ (Diuretics) เป็นยาที่ส่งผลต่อการทำงานของไต โดยจะช่วยขับโซเดียมส่วนเกินและน้ำออกจากร่างกาย และลดความดันโลหิตลง ซึ่งยาชนิดนี้มักจะใช้ร่วมกับยาความดันสูงประเภทอื่นหรือเป็นยาชนิดรวมในหนึ่งเม็ด เช่น ยาไธอาไซด์ (Thiazide diuretics) ยาไฮโดรคลอโรไทอะไซด์ (Hydrochlorothiazide) ยาคลอร์ธาลิโดน (Chlorthalidone)

2.    ยาในกลุ่มเอซีอี อินฮิบิเตอร์ (ACE inhibitors) เป็นยาที่ช่วยยับยั้งการทำงานของแองจิโอเทนซิน 2 (Angiotensin II) ซึ่งเป็นฮอร์โมนที่ทำให้หลอดเลือดเกิดการตีบตันและเพิ่มความดันโลหิตให้สูงขึ้น เมื่อฮอร์โมนนี้ถูกยับยั้ง หลอดเลือดจึงไม่เกิดการตีบตันและหัวใจไม่ต้องทำงานหนักด้วยการเพิ่มแรงดันภายในหลอดเลือด เช่น ยาลิซิโนพริล (Lisinopril) ยาบีนาซีพริล (Benazepril) ยาแคปโตพริล (Captopril) 

3.    ยาในกลุ่มแคลเซียมแชนแนลบล็อกเกอร์ (Calcium channel blockers) เป็นยาที่ช่วยหลอดเลือดคลายตัว เช่น ยาแอมโลดิปีน (Amlodipine) และยาดิลไทอะเซม (Diltiazem)

4.    ยาในกลุ่มแอลฟา-บล็อกเกอร์ (Alpha-blockers) ช่วยให้กล้ามเนื้อคลายตัวและขยายหลอดเลือดเพื่อให้เลือดไหลเวียนได้อย่างสะดวก เช่น ด็อกซาโซซิน (Doxazosin) และยาพราโซซิน (Prazosin)

5.    ยาในกลุ่มเบต้า บล็อกเกอร์ (Beta blockers) ทำให้หัวใจเต้นช้าและมีแรงต้านน้อยลง ส่งผลให้หัวใจบีบตัวในการส่งเลือดน้อยลง จึงช่วยในการลดความดันโลหิตลงได้ เช่น ยาคาวีไดออล (Carvedilol) และยาอะทีโนลอล (Atenolol)

6.    ยาที่ออกฤทธิ์ต่อระบบประสาทส่วนกลาง เพื่อช่วยระงับสารสื่อประสาทที่ทำให้หลอดเลือดตีบตัน ซึ่งจะลดความดันโลหิตลง เช่น ยาโคลนิดีน (Clonidine) และเมทิลโดปา (Methyldopa)

4.    ยาในกลุ่มวาโสไดเลเตอร์ (Vasodilators) ออกฤทธิ์โดยตรงกับกล้ามเนื้อในผนังหลอดเลือดและช่วยป้องกันการหดตัวของหลอดเลือดให้แคบลง เช่น ยาไฮดราลาซีน (Hydralazine) และยาไมนอกซิดิล (Minoxidil)

สำหรับการใช้ยาเพื่อรักษาโรคความดันสูง ผู้ป่วยส่วนใหญ่อาจต้องรับประทานยาต่อเนื่อง แต่บางรายที่สามารถควบคุมระดับความดันโลหิตให้อยู่ในเกณฑ์ที่ดี และปรับลดพฤติกรรมที่เสี่ยงต่อการเกิดโรคได้ อาจไม่จำเป็นต้องรับประทานยาไปตลอด ซึ่งแพทย์จะเป็นผู้ให้คำแนะนำถึงระยะเวลาในการใช้ยาที่เหมาะสม

ในกรณีที่เกิดผลข้างเคียงขึ้น ผู้ป่วยไม่ควรหยุดรับประทานยาเอง แต่ควรปรึกษาแพทย์ถึงผลข้างเคียงนั้น ๆ โดยแพทย์อาจมีการปรับเปลี่ยนปริมาณยาหรือเปลี่ยนยาชนิดใหม่ให้ทดแทน นอกจากนี้ ผู้ป่วยควรตรวจวัดความดันโลหิตอย่างสม่ำเสมอ เพราะความดันโลหิตสามารถเปลี่ยนแปลงได้แม้อยู่ในช่วงการใช้ยา


การรักษาโรคความดันสูง ความดันโลหิตสูง (Hypertension) อ่านบทความเพิ่มเติมคลิ๊กที่นี่ https://doctorathome.com/